โดยการร่างสคริปต์จะช่วยให้เรารู้ว่าเราต้องพูดอะไร หากเราไม่ร่างบทพูดไว้ก่อน ตอนพูดจริงๆ อาจจะทำให้เราพูดสะดุดหรือมีความกังวัลใจถึงเรื่องราวที่กำลังจะพูด หากผู้พูดมีความชำนาญในการนำเสนอเรื่องราว ก็สามารถดำเนินการพูดได้โดยการจดแค่หัวข้อว่าจะพูดเรื่องอะไร แล้วใช้ทักษะและวิธีการของแต่ละท่าน ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความถนัดไม่เหมือนกัน โดยต่อไปนี้จะเป็นการแบ่งสัดส่วนเนื้อหาในสคริปต์ตามหัวข้อที่ใช้ในการประเมินวิทยฐานะชำนาญการวิชาคอมพิวเตอร์และวิชาพลศึกษา เพื่อนครูสามารถศึกษาและนำไปปรับใช้ได้
1.ส่วนการแนะนำตัวเอง : อธิบายเกี่ยวกับตนเองให้กรรมการรู้จัก
2.แนะนำรายวิชา : อธิบายถึงรายวิชาที่เรากำลังทำการนำเสนอและมีการบันทึกคลิปสอนไว้แล้วนั้น
3.ขั้นตอนการทำงาน : จริงๆในขั้นตอนนี้บางคนไม่มีก็ได้ แต่ด้วยความที่อยากให้กรรมการเห็นภาพการทำงานของเราอย่างเป็นขั้นตอนจึงได้เพิ่มเนื้อหาในส่วนนี้ไป และยิ่งเรามีการนำผลการจัดการเรียนรู้ในเรื่องนี้ไปประกวดได้รางวัลมาเพิ่ม ในขั้นตอนกระบวนการก็จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้กับงาน (แต่ไม่ได้มีผลต่อคะแนน) เว้นแต่เป็นการสร้างโปรไฟล์ และกระบวนการขั้นตอนเหล่านี้ต้องนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
4.ที่มา หรือ แรงบันดาลใจ : นำมาสู่การเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ (ว่าเพราะเหตุผลใดถึงใช้วิธีแก้ปัญหานี้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับนักเรียนและผลลัพธ์ต้องตรงกับตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางที่ใช้ประเมินในแผนการจัดการเรียนรู้ด้วย)
5.ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ : คือกระบวนการที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นจะต้องนำมาเล่าเพื่อให้กรรมการเห็นภาพในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ส่วนใหญ่ที่ควรนำไปใช้ ควรจะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เหมาะกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learing ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.ผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ : นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจว่าสิ่งที่เราจัดการเรียนรู้นี้นักเรียนได้อะไร (เพื่อเป็นการชี้แนะกรรมการไปในตัวว่าสิ่งที่เรากำลังเสนอมันคืออะไร จุดสำคัญที่เราต้องการเน้นให้กรรมการเห็นภาพว่าผลลัพธ์ที่ได้มันคืออะไร กรรมการจะได้เข้าใจตรงกับสิ่งที่เรากำลังสื่อไปด้วย